สตรอเบอรี่

สตรอว์เบอร์รี
ตรอว์เบอร์รี (อังกฤษ: strawberry) เป็นสกุลไม้ดอกในวงศ์กุหลาบ ผลสามารถรับประทานได้ ในอดีตปลูกเป็นพืชคลุมดินให้กับต้นไม้ปลูกเลี้ยงอื่น ซึ่งอาจเป็นที่มาของชื่อก็เป็นได้[2] มีมากกว่า 20 สปีชีส์ และมีลูกผสมมากมาย แต่สตรอว์เบอร์รีที่นิยมปลูกมากในปัจจุบันก็คือสตรอว์เบอร์รีสวน (Fragaria × ananassa) ผลของสตรอว์เบอร์รีมีรสชาติหลากหลายขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ มีตั้งแต่รสหวานจนถึงเปรี้ยว สตรอเบอร์รีเป็นผลไม้ทางการค้าที่สำคัญ มีปลูกกันเป็นวงกว้างหลายสภาพอากาศทั่วโลก



·       รูปลักษณะ
ป็นพืชล้มลุก แตกกิ่งก้านแผ่ปกคลุมดิน ใบจะรวมกันอยู่ 3 ใบใน 1 ก้าน ขอบใบมีรอยหยัก มีดอกสีขาว ผลมีก้านยาวเชื่อมกับต้น มีเสี้ยนเล็ก ๆ บาง ๆ กระจายอยู่ทั่วผล มีกลีบเลี้ยงบนขั้วของผล เมื่ออ่อนมีสีขาว เหลือง เมื่อสุกจะเป็นสีส้ม หรือแดง รสชาติอมเปรี้ยวถึงหวาน ขึ้นอยู่กับผลที่สุก



  
·       สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
·     พื้นที่ที่มีระดับความจากน้ำทะเล800เมตร
·     พื้นที่ที่มีอุณหภูมิ 10-25 องศาเซลเซียส (มีอากาศเย็นตลอดปี)
·     พื้นที่ที่มีดินอุดมสมบูรณ์ เช่น ดินแบบทุ่งหญ้าแพรรี หรือดินร่วนที่อุดมสมบูรณ์
·       ฤดูกาล
·        เริ่มปลูกในช่วงเดือนปลายสิงหาคม ถึง ปลายตุลาคม
·        เริ่มเก็บเกี่ยวช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงช่วงเดือนเมษายนของปีถัดไป



·       พันธุ์ที่นิยมปลูกในประเทศไทย
·   พันธุ์พระราชทาน 16
·   พันธุ์พระราชทาน 20
·   พันธุ์พระราชทาน 50 (เป็นพันธุ์ที่มูลนิธิโครงการหลวงส่งเสริมให้ปลูก) เป็นพันธุ์ที่เกิดจากการผสมในประเทศสหรัฐอเมริกา และนำเข้ามาคัดเลือกโดยการผสมตัวเองตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 เจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ดีในสภาพอากาศเย็นปานกลาง ทรงพุ่มปานกลางถึงค่อนข้างแน่น ผลผลิตมีคุณภาพดีโดยเฉพาะใกล้สุกเต็มที่ น้ำหนักต่อผล 12 -18 กรัม รูปร่างเป็นลิ่มสีแดงถึงสีแดงเข้มค่อนข้างแข็ง ไม่ต้านทานต่อไร แต่ต้านทานราแป้งได้ดี
·   พันธุ์พระราชทาน 70 (เป็นพันธุ์ที่มูลนิธิโครงการหลวงส่งเสริมให้ปลูก) เป็นสายพันธุ์จากประเทศญี่ปุ่น ใบมีลักษณะกลมใหญ่ และสีเขียวเข้มไม่ทนต่อราแป้ง แต่ทนต่อโรคเหี่ยว ให้ผลผลิตค่อนข้างสูง น้ำหนักต่อผล 11.5 - 13.0 กรัม ผลมีลักษณะทรงกลมหรือทรงกรวย สีแดงสดใสแต่ไม่สม่ำเสมอ เนื้อและผลค่อนข้างแข็ง มีกลิ่นหอม มีความฉ่ำและรสชาติหวาน เปอร์เซ็นต์ความหวาน 9.6° Brix
·   พันธุ์พระราชทาน 72 (เป็นพันธุ์ที่มูลนิธิโครงการหลวงส่งเสริมให้ปลูก) เป็นสายพันธุ์นำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น ชื่อพันธุ์ TOCHIOTOME ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 น้ำหนักต่อผล 14 กรัม เนื้อผลแข็งกว่าพันธุ์พระราชทาน 70 แต่มีความหวานน้อยกว่าคือ 9.3° Brix มีกลิ่นหอมเมื่อเริ่มสุก เนื้อภายในผลมีสีขาว ผิวผลเมื่อสุกเต็มที่จะมีสีแดงถึงแดงจัด เงาเป็นมันที่ผิวผล ทนต่อการขนส่งมากกว่าพันธุ์อื่น
·   พันธุ์พระราชทาน 80 (เป็นพันธุ์ที่มูลนิธิโครงการหลวงส่งเสริมให้ปลูก ตั้งแต่ปีพ พ.ศ. 2552 เป็นต้นมา) เป็นสายพันธุ์ที่มาจากประเทศญี่ปุ่น ชื่อพันธุ์ Royal Queen
·   พันธุ์ 329 (Yale) เป็นพันธุ์ที่กรมส่งเสริมการเกษตรส่งเสริมให้กับเกษตรกรปลูก เป็นพันธุ์ที่มาจากประเทศอิสราเอล
·       แหล่งปลูกที่สำคัญในประเทศไทย
·   อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่
·       พันธุศาสตร์
                      สตรอเบอร์รี่มีพันธุศาสตร์ออกตะพลอยด์ที่ซับซ้อน (8 โครโมโซม) ตลอดจนการสกัดดีเอ็นเอลักษณะนิยม ทั้งนี้ สตรอว์เบอร์รีมีลำดับที่ได้รับการค้นพบเป็นจำนวน 7,096 ยีน
·       อาการแพ้
                      ผู้คนบางรายมีประสบการณ์ในการมีอาการแอนาฟิแล็กซิสจากการรับประทานสตรอว์เบอร์รี


·       สรรพคุณของสตรอเบอร์รี่
1.      สตรอเบอร์รี่อุดมไปด้วยสารต่อต้านอนุมูลอิสระ มีส่วนช่วยในการชะลอวัย
2.     ช่วยในการเสริมสร้างคอลลาเจน จึงช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยได้เป็นอย่างดี
3.     ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้แก่ร่างกาย
4.     มีส่วนช่วยบำรุงประสาทและสมอง
5.     ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง
6.     ช่วยป้องกันการเกิดโรคโลหิตจาง
7.     ช่วยเพิ่มปริมาณไขมันชนิดดี (HDL) ซึ่งช่วยทำให้หลอดเลือดสะอาด ปราศจากคราบไขมัน
8.     ช่วยยับยั้งสารก่อมะเร็งอย่างไนโตรซามีน (Nitrosamines) ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดโรคมะเร็งลำไส้
9.     ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
10.  ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอกได้
11.    ช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดอุดตัน
12.   ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อหัวใจให้แข็งแรงและป้องกันการเกิดโรคหัวใจ
13.  สตรอเบอร์รี่อุดมไปด้วยซูเปอร์ไฟเบอร์เพกทิน ซึ่งมีส่วนช่วยในการลดระดับคอเลสเตอรอลได้
14.   มีส่วนช่วยบำรุงโลหิต
15.  ช่วยลดความดันโลหิต
16.  มีส่วนช่วยในการบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง
17.   ช่วยป้องกันไม่ให้ทารกในครรภ์สมองพิการได้ (กรดโฟลิก)
18.  ช่วยบำรุงและรักษาสายตา ช่วยปรับสมดุลของนัยน์ตาให้เป็นปกติ และป้องกันโรคต้อกระจก โรคตาบอดตอนกลางคืน การรับประทานสตรอเบอร์รี่เป็นประจำจึงช่วยลดความเสื่อมของจอประสาทตาได้ถึง 50%
19.  การดื่มน้ำสตรอเบอร์รี่จะช่วยบำรุงร่างกายหลังฟื้นไข้
20. ช่วยป้องกันการเกิดโรคหวัดและภูมิแพ้
21.   ช่วยป้องกันการเกิดโรคเลือดออกตามไรฟันได้เป็นอย่างดี
22.  ช่วยทำให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ
23. เป็นยาระบายอ่อน ๆ
24.  ช่วยแก้อาการท้องร่วง (ด้วยการใช้เหล้าไวน์ 1 ถ้วยตวง ใส่รากและใบสตรอเบอร์รี่ตากแห้ง 1/2 ถ้วยตวง นำมาต้มน้ำให้เดือดแล้วกรองเอาแต่น้ำดื่มก่อนอาหารทุกมื้อ)
25. ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ด้วยการรับประทานผลสดครั้งละ 5 ผล
26. มีส่วนช่วยรักษาโรคนิ่วในไต
27.  ช่วยรักษาโรคทางเดินปัสสาวะ (ด้วยการใช้เหล้าไวน์ 1 ถ้วยตวง ใส่รากและใบสตรอเบอร์รี่ตากแห้ง 1/2 ถ้วยตวง นำมาต้มน้ำให้เดือดแล้วกรองเอาแต่น้ำดื่มก่อนอาหารทุกมื้อ)
28. ช่วยแก้ปัญหาประจำเดือนมาไม่เป็นปกติด้วยการใช้ใบและราก (โดยการใช้เหล้าไวน์ 1 ถ้วยตวง ใส่รากและใบสตรอเบอร์รี่ตากแห้ง 1/2 ถ้วยตวง นำมาต้มน้ำให้เดือดแล้วกรองเอาแต่น้ำดื่มก่อนอาหารทุกมื้อ) ตากแห้ง นำมาชงกับน้ำเดือด แล้วดื่มแทนชา และใช้รากสตรอเบอร์รี่ 2 ช้อนโต๊ะต่อน้ำเดือด 1 กาขนาดกลาง
29. ช่วยบรรเทาอาการของโรคตับอักเสบ
30. ช่วยป้องกันการเกิดโรคข้ออักเสบ
31.  ช่วยป้องกันการเกิดโรคเหน็บชา
32. ช่วยป้องกันโรคเกาต์
33. ช่วยแก้อาการเจ็บคอ รักษาแผลในช่องปาก (ด้วยการใช้ใบสดสตรอเบอร์รี่นำมาแช่น้ำทิ้งไว้ค้างคืน แล้วนำน้ำมาใช้กลั้วคอ)
34. ช่วยรักษาสุขภาพเหงือกและฟันให้แข็งแรง (ด้วยการใช้ใบสดสตรอเบอร์รี่นำมาแช่น้ำทิ้งไว้ค้างคืน แล้วนำน้ำมาใช้กลั้วคอ)
35. ใบสดนำมาโขลกแล้วนำไปประคบตามร่างกาย ช่วยลดอาการอักเสบบวมช้ำได้เป็นอย่างดี

·       ประโยชน์ของสตรอเบอร์รี่
1.      เป็นผลไม้ที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ต้องการจะลดน้ำหนักและความอ้วน เพราะมีพลังงานต่ำ
2.     ช่วยในการดีท็อกซ์สารพิษออกจากร่างกาย ช่วยทำให้ร่างกายมีสุขภาพดี
3.     ช่วยระงับกลิ่นปากได้ดี ทำให้ลมหายใจสดชื่น (ใช้ใบสดนำมาแช่น้ำทิ้งไว้ค้างคืน แล้วนำมาอมบ้วนปาก)
4.     ใบสตรอเบอร์รี่นำมาซ้อนกันหลาย ๆ ใบ ใช้ประคบแก้รอยช้ำบวมตามร่างกาย
5.     ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส ด้วยการนำผลสตรอเบอร์รี่สดมาฝานบาง ๆ วางให้ทั่วบริเวณใบหน้า ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด
6.     ใช้ทำความสะอาดผิวหน้า ด้วยการใช้สตรอเบอร์รี่ประมาณ 3 ผลผสมกับน้ำมะนาว แล้วนำมานวดทาบริเวณใบหน้าแล้วล้างออก ซึ่งจะช่วยทำความสะอาด ปรับสภาพผิว และลดการอุดตันของรูขุมขนได้เป็นอย่างดี
7.     ช่วยทำให้ฟันขาวสะอาด เงางาม ด้วยการใช้ใบสตรอเบอร์รี่และรากที่ตากแห้งมาใส่โถปั่นจนเป็นผง แล้วนำมาใช้แทนยาสีฟัน
8.     มีการนำไปแปรรูปอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นสตรอเบอร์รี่เชื่อม น้ำสตรอเบอร์รี่ แยมสตรอเบอร์รี่ ไวน์สตรอเบอร์รี่ สตรอเบอร์รี่อบแห้ง เค้กสตรอเบอร์รี่ โยเกิร์ตสตรอเบอร์รี่ เป็นต้น



          คุณค่าทางโภชนาการของสตรอเบอร์รี่ต่อ 100 กรัม
·   พลังงาน 33 กิโลแคลอรี
·   คาร์โบไฮเดรต 7.68 กรัม
·   น้ำตาล 4.89 กรัม
·   เส้นใย 2 กรัม
·   ไขมัน 0.3
·   โปรตีน 0.67 กรัม
·   วิตามินบี 1 0.024 มิลลิกรัม 2%
·   วิตามินบี 2 0.022 มิลลิกรัม 2%
·   วิตามินบี 3 0.386 มิลลิกรัม 3%
·   วิตามินบี 6 0.047 มิลลิกรัม 4%
·   วิตามินบี 9 24 ไมโครกรัม 6%
·   โคลีน 5.7 มิลลิกรัม 1%
·   วิตามินซี 58.8 มิลลิกรัม 71%
·   วิตามินอี 0.29 มิลลิกรัม 2%
·   วิตามินเค 2.2 ไมโครกรัม 2%
·   ธาตุแคลเซียม 16 มิลลิกรัม 2%
·   ธาตุเหล็ก 0.41 มิลลิกรัม 3%
·   ธาตุแมกนีเซียม 13 มิลลิกรัม 4%
·   ธาตุแมงกานีส 0.386 มิลลิกรัม 18%
·   ธาตุฟอสฟอรัส 24 มิลลิกรัม 3%
·   ธาตุโพแทสเซียม 153 มิลลิกรัม 3%
·   ธาตุโซเดียม 1 มิลลิกรัม 0%
·   ธาตุสังกะสี 0.14 มิลลิกรัม 1%
·   ฟลูออไรด์ 4.4 ไมโครกรัม

แหล่งที่มา : >>>สตรอว์เบอรี่<<<
                  



ความคิดเห็น