บอนสี

บอนสี
บอนสี เป็นไม้ประดับที่มีใบสวยงามและเป็นไม้มงคล มีสีสันที่หลากหลายแปลกตาและเป็นเอกลักษณ์ จนได้รับการยกย่องว่าเป็น "ราชินีแห่งไม้ใบ"(Queen of the Leafy Plants)




ความเชื่อเกี่ยวกับบอนสี
ในสมัยโบราณบอนสีเป็นไม้มงคลที่นิยมปลูกติดไว้ในบ้านพักอาศัยและจะทำให้บ้านที่ปลูกมีความสุขความเจริญเป็นสิริมงคลแก่บ้านพักอาศัยทำให้คนในบ้านมีความสุขกัน
ลักษณะโดยทั่วไป
บอนสีมีความสูงประมาณ 0.5 เมตร มีพุ่มกว้างประมาณ 1 เมตร มีลำต้นอยู่ใต้ดิน มีลักษณะเป็นหัว ผิวของลำต้นเป็นผิวเรียบและ ใบกว้างประมาณ 8-15 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร ลักษณะใบ สีสันสวยงาม และดอกมีเกสรเป็นแท่งยาวโผล่ออกมา ดอกมีสีขาวหรือสีชมพู รังไข่ใต้วงกลีบ มีกลิ่นฉุน
ถิ่นกำเนิด
บอนสีมีถิ่นกำเนิดมาจากแถบแอฟริกาใต้ และเริ่มเข้ามาในทวีปยุโรป อินเดีย และ อินโดนีเซีย ตามลำดับแล้วเชื่อกันว่าบอนสีเข้ามาในประเทศไทยตอนสมัยสุโขทัยและ ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรป และได้ทรงนำบอนสีเข้ามาปลูกในประเทศไทยไว้หลายสายพันธุ์

การปลูก
บอนสีควรจะปลูกในที่ที่มีความชื้นและไม่มีแดดร้อนจัดและดินที่ใช้ปลูกควรจะเป็นดินร่วนและมีในดินมีอินทรีย์วัตถุผสมด้วยเช่นพวกซากใบไม้ที่ผุย่อยสลลายและควรใช้ปุ๋ยชีวภาพนั้นก็คือ ปุ๋ยคอกและไม่ควรเยอะเกินไปเพราะดินจะเค็มทำให้ดินเสื่อมและต้องรดน้ำทุกวันตอนเช้าและตอนเย็นและอย่านำกระถางไปตั้งในที่แดดร้อนจัดเพราะใบจะไหม้และต้นก็จะตาย
การขยายพันธุ์
บอนสีนั้นควรทำการขยายพันธุ์ในฤดูฝน วิธีขยายพันธุ์นั้นมีถึง 4 วิธีคือ
1. แยกหน่อ โดยการแบ่งหน่อของต้นบอนสีที่โผล่มาจากโคนต้นแม่
2. ผ่าหัว ควรใช้หัวที่มี อายุไม่เกิน 1 ปี จะช่วยให้ต้นที่เกิดใหม่โตเร็วและแข็งแรง นำไปชำในทรายสะอาดหรืออิฐมอญทุบละเอียดหรือใช้ ขี้เถ้าแกลบที่ไม่มีความเป็นด่างก็ได้ รดด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา แล้วนำไปไว้ในที่ร่ม มีอากาศถ่ายเท มีความชื้น ประมาณ 1-2 สัปดาห์ บอนสีจะแตกหน่อและราก พอเริ่มผลิใบได้ ประมาณ1-2 ใบจึงย้ายไป ปลูกในกระถาง
3. ผสมเกสร โดยเตรียมต้นบอนสีที่จะนำมาเป็นต้นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ไว้ เมื่อต้นบอนสีออกดอกและบานในช่วงเวลา ประมาณ19.00 - 20.00 น. ให้ทำการผสมเกสร ซึ่งดอกบอนสีจะผสมติดภายใน 1 สัปดาห์ และฝักจะแก่เต็มที่ภายใน 30 วัน สามารถนำเมล็ดไปเพาะได้
4. เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหรือปั่นตา ให้นำชิ้นส่วนเนื้อเยื่อเจริญของต้นบอนสีมาเลี้ยงในที่มีการควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น แสงสว่าง จนเกิดเป็นกลุ่มเนื้อเยื่อและพัฒนาเป็นบอนสีต้นใหม่
การจำแนกตามลักษณะใบ
ใบของบอนสีสามารถจำแนกได้ตามลักษณะใบได้ 5 ลักษณะคือ
1.       บอนสีใบไทย
2.      บอนสีใบกลม
3.      บอนสีใบยาว
4.      บอนสีใบกาบ
5.      บอนสีใบไผ่
การดูแลรักษา
·       แสง
บอนสีเป็นพืชที่ต้องการแสง เพื่อสร้างเม็ดสี แต่แสงจะต้องมีวัสดุมาพรางไว้ประมาณ 50  %
·       อุณหภูมิ
ประมาณ 18 - 24 °C
·       ความชื้น
บอนสีต้องการความชื้นสูง ถ้าอากาศแห้งแล้ง ควรฉีดพ่นน้ำให้ที่ใบบ่อยๆ
·       น้ำ
ต้องการน้ำมากไม่ถึงกับแฉะ ควรรดน้ำให้พอดีและสม่ำเสมอ
สูตรผสมดินปลูกบอนสีในกระถาง
1. ดินร่วน 6 ส่วน
2. ทราย 4 ส่วน
3. ปุ๋ยคอก 1 ส่วน
4. ใบมะขามผุ 1 ส่วน
·       ปุ๋ย
ใช้ปุ๋ยคอกละลายน้ำรด แต่อย่าให้เข้มข้นมาก เพราะจะทำให้สีไม่สวย


โรคและแมลง
เชื้อรา(Funji) เชื้อราเป็นเชื้อราที่สามารถเข้าทำลายเกือบทุกส่วนของพืชเชื้อจะแพร่กระจายไปได้ทั้งทางดินและน้ำ ส่วนของพืชที่เป็นโรคจากเชื้อราจะสามารถมองเห็นได้ชัดในพืชที่กกลังงอกหรือเล็กอยู่ โดยพืชจะมีอาการอ่อนแอและล้มลงอย่างรวดเร็ว ใบจะร่วง รากเน่าและส่วนที่อยู่เหนือดินขึ้นมาจะเป็นจุดลาย มีสีต่างๆ โดยเฉพาะสีน้ำตาลหรือสีเทา
เพลี้ยอ่อน(Aphide) เพลี้ยอ่อนจะทำลายใบ ลำต้น และดอก โดยการดูดน้ำหล่อเลี้ยงเซลล์ ส่วนที่ถูกทำลายจะบิดงอ ผิดรูปผิดร่างไป เพลี้ยอ่อนจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นในสภาวะแวดล้อมที่อบอุ่น
การป้องกันโรคและแมลง
ใช้ยากำจัดเชื้อราจำพวกแคปแทน(captan) หรือมาแนบ(maneb)รด ส่วนเพลี้ยอ่อนใช้ยามาลาไธออน(malathion)หรือ ไดอาซินอน(diazinon)ฉีดพ่นก็ได้

ที่มา: บอนสี

ความคิดเห็น